ประวัติหน่วยฯ

ประวัติหน่วยศัลยกรรมทรวงอก
และการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน

หน่วยศัลยศาสตร์ทรวงอกและหัวใจ ภาควิชาศัลยศาสตร์ เป็นหน่วยงานที่มีชื่อสียงในการผ่าตัดหัวใจและเป็นสถาบันที่บุกเบิกหลากหลายวิทยาการในการผ่าตัดหัวใจ รวมถึงเป็นสถาบันแรกในประเทศไทยที่ทาการผ่าตัดหัวใจสาเร็จ คือการผ่าตัดผูกเย็บ patent ductus arteriosus ในปีพ.ศ. 2496 โดยศาสตราจารย์นายแพทย์ สมาน มันตาภรณ์ ในปีเดียวกันนั้น ศาสตราจารย์นายแพทย์ สมาน มันตาภรณ์ ได้ตั้งหน่วยหัวใจ ปอด แยกออกมาจากศัลยกรรมทั่วไป และเพื่อให้การตรวจวินิจฉัยโรคหัวใจเป็นไปได้อย่างถูกต้อง ท่านจึงจัดตั้งห้องตรวจสวนหัวใจ (cardiac catheterization lab) เป็นแห่งแรกของประเทศไทย ในปี 2497 ได้มีการผ่าตัดลิ้นหัวใจครั้งแรกในประเทศไทย ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เป็นการผ่าตัด closed mitral valvulotomy โดยศาสตราจารย์นายแพทย์ สมาน มันตาภรณ์

การผ่าตัดหัวใจชนิดเปิดโดยใช้เครื่องหัวใจและปอดเทียม สาเร็จครั้งแรกในประเทศไทยที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ในปี พ.ศ. 2502 เป็นการผ่าตัด valvular pulmonary stenosis โดยศาสตราจารย์นายแพทย์ สมาน มันตาภรณ์ ซึ่งผู้ปฏิบัติควบคุมเครื่องปอด หัวใจ (perfusionist)รุ่นแรก คือศัลยแพทย์ผู้ช่วย ได้แก่ นายแพทย์ชิน บูรณธรรม นายแพทย์ชวลิต อ่องจริต และนายแพทย์โยธิน คุโรวาท ซึ่งได้ทาอยู่หลายปี จึงได้รับพยาบาลและผู้สาเร็จ medical technology มาฝึกสอนเป็น perfusionist

ในช่วงปีพ.ศ. 2518 ทางหน่วยศัลยศาสตร์ทรวงอกและหัวใจ ได้รับศัลยแพทย์ทรวงอกและหัวใจสาเร็จจากต่างประเทศอีก 3 นาย คือ นายแพทย์เหมือนหมาย สรรประเดิษฐ์ จากประเทศเยอรมนี นายแพทย์จรรยา มโนทัย และนายแพทย์สมศักดิ์ วรรธนะภัฎ จากประเทศสหรัฐอเมริกา ช่วยให้หน่วยสามารถทางานได้มากขึ้นในหลายด้าน ประจวบกับการวินิจฉัยโรคหัวใจทางอายุรแพทย์หัวใจผู้ใหญ่และหัวใจเด็กได้ก้าวหน้าขึ้นอย่างมาก จึงได้มีการผ่าตัดหัวใจอย่างกว้างขวาง ในพ.ศ. 2520 ได้มีการประดิษฐ์ลิ้นหัวใจเทียมขึ้นใช้เอง โดยศาสตราจารย์นายแพทย์ผู้ริเริ่มคือ ศาสตราจารย์นายแพทย์ชวลิต อ่องจริต โดยใช้เยื่อหุ้มสมอง Dura Mater preserved ด้วย Glycerine เข้มข้น ซึ่งได้มีรายงานความคงทนของลิ้นหัวใจเทียมในการการเปลี่ยนลิ้นหัวใจซีกซ้ายถึง 10 ปี และในปีพ.ศ. 2530 ได้มีการทาผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจสาเร็จเป็นครั้งแรกในประเทศไทย และในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดย ศาสตราจารย์นายแพทย์ชวลิต อ่องจริต ซึ่งเป็นรากฐานในการวางระเบียบวิธีการทางนิติศาสตร์ในการขอรับอวัยวะ ในปัจจุบันหน่วยศัลยศาสตร์ทรวงอก รพ.จุฬาลงกรณ์เป็นผู้นาในการดูแลผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว และผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ หลังปี พ.ศ.2533 ทางหน่วยได้รับศัลยแพทย์หัวใจทรวงอกรุ่นใหม่เพิ่มเติมอีกตามลาดับ ได้แก่ นายแพทย์กิตติชัย เหลืองทวีบุญ ศาสตราจารย์นายแพทย์วิชัย เบญจชลมาศ รองศาสตราจารย์นายแพทย์เสรี สิงหถนัดกิจ นายแพทย์พัชร อ่องจริต และนายแพทย์จุล นาชัยศิริ ทั้งหมดนี้ได้มาเป็นกาลังสาคัญในการผ่าตัดจนได้มาตรฐานที่ดีและต่อมาในปี พ.ศ.2535 ด้วยความสนับสนุนของสภากาชาดไทย หน่วยศัลยกรรมหัวใจได้ศัลยแพทย์จากต่างประเทศมาเสริมงานต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผ่าตัด coronary artery bypass graft (CABG) ให้เข้มแข็งขึ้นอีก 2 ท่าน คือ Dr. Graeme Bennett จาก Brompton Hospital London ประเทศอังกฤษ และ นายแพทย์ชลิต เชียรวิชัย จาก Cleveland Clinic ประเทศสหรัฐอเมริกา ศัลยแพทย์ทั้งสองท่านได้มาเป็นกาลังสาคัญทั้งด้านบริการ การเรียนการสอน การวิจัย ในวิธีการใหม่ ๆ ในปัจจุบันทางหน่วยได้มีการรับศัลยแพทย์หัวใจและทรวงอกเข้ามาเพิ่ม เพื่อเข้ามาพัฒนาหน่วยทั้งในด้านวิชาการและด้านการผ่าตัด เพื่อที่จะเป็นผู้นาในทุกด้านของการผ่าตัดหัวใจและปอด ได้แก่ นายแพทย์ชนาพงษ์ กิตยารักษ์ นายแพทย์นพพร พรพัฒนารักษ์ นายแพทย์ชญาน์ฑัต ศิรินาวิน และนายแพทย์เหมือนเทพ โฉมวิไลลักษณ์ หน่วยศัลยศาสตร์ทรวงอก รพ.จุฬาลงกรณ์ได้เปิดให้มีการเรียนการสอนศัลยแพทย์หัวใจและทรวงอกมาเป็นเวลากว่า40 ปี ตั้งแต่พ.ศ. 2527 ทางหน่วยได้ผลิตศัลยแพทย์ที่มีศักยภาพจานวนมากเข้าสู่ระบบสาธารณสุข ทางหน่วยมีเป้าหมายที่จะผลิตศัลยแพทย์ที่มีมีความรู้ ความชานาญ ตามมาตรฐานสากล ทาให้ศัลยแพทย์ที่ผ่านการฝึกอบรม มีมาตรฐานและเกียรติภูมิเป็นที่ยอมรับของศัลยแพทย์นานาประเทศ สามารถไปศึกษาต่อ และปฏิบัติงานในต่างประเทศได้อย่างเหมาะสม ทั้งยังเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาศัลยศาสตร์ของประเทศไทยอีกด้วย